ข้อคิดแก้ความยากจน

1. อย่าฟุ่มเฟือย
2. จงกินอยู่ใช้ให้พอดีพอเพียง
3. อย่าเสียรู้ไปค้ำประกัน
4. จงทำงาน อย่าว่าง เพราะจะใช้เวลาว่างไปเสียเงิน
5. จงปฏิเสธให้เป็นบ้าง กรณีคนมายืมเงิน
6. หัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการใช้เงินฟุ่มเฟือย
7. อย่าทำโก๋ อวดศักดิ์ศรี ดีกว่าเพื่อน โดยการซื้อของมาประดับบารมี
8. จงเจียมตน ถ่อมตน
9. จงขยันหาทรัพย์
10. จงหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้
11. ปลูกบ้านไม่ใหญ่เกินตัว อย่ามีทีวีเพราะตามเพื่อน
12. อย่ารับภาระครอบครัวคนอื่น ๆ จนเกินตัว
13. โทรศัพท์เท่าที่จำเป็น คุยเพ้อเจ้อ ไม่เห็นมีธุรกิจอะไร ยิ่งคุยนานยิ่งเสียเงินมาก
14. วิเคราะห์คุณค่าแท้คุณค่าเทียมในการเลือกซื้อโทรทัศน์ และรถยนต์
15. ระวังเรื่องความอยาก เดี๋ยวนี้เขาล่อให้เราซื้อสินค้าและบริการด้วยของแถม ของฟรี จำไว้ในธุรกิจไม่มีใครให้เราฟรีหรอก
16. จงแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ ไว้เลี้ยงตนเองและครอบครัว เอาไปตอบแทนคุณพ่อคุณแม่ ออมไว้เพื่อฉุกเฉิน เก็บไว้ลงทุนต่อทรัพย์ และทำบุญบ้าง
17. หากยังไม่มีวินัยในการใช้เงินหรือคุมใจตนเองไม่ได้ ห้ามใช้บัตรเครดิต
18. รู้จักการใช้ คาถาหัวใจเศรษฐี อุ - อา - กะ - สะ คือ รู้จักหา รู้จักรักษา พบเพื่อนดี และทำตนพอดี พอประมาณ
19. หากมีหนี้ ก็ต้องบริหารหนี้ด้วยว่าคุมอยู่
20. จงใช้หลัก PDCA ในการบริหารการเงินของครอบครัว
21. ฝึกนิสัยให้ลูก ๆ รู้จักการออมการประหยัดตามหลัก "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท"?
22. อย่าตามโลก ให้เข้าใจคำว่า "บริโภคนิยม" สิ่งนี้แหละพาจน
23. ตามแฟชั่น เปลี่ยนรถยนต์บ่อย ๆ ซื้อเสื้อผ้าตามแฟชั่นเป็นการเสียเงินโดยไม่จำเป็น
24. ค่าใช้จ่ายหนัก ๆ ในชีวิตครอบครัวมี 3 อย่าง คือ ค่าเล่าเรียนลูก ค่าปลูกบ้าน และค่ารถยนต์ใช้งาน จงเลือกแต่พอดีสมฐานะ
25. เรื่องเงินเรื่องทอง ต้องรู้จักรายได้รายจ่าย
- ช่วงอายุน้อย วัยเรียน ใช้เงินพ่อแม่ มีแต่รายจ่ายรายได้ไม่มี
- ช่วงอายุวัยทำงาน รายได้มากกว่ารายจ่าย
- ช่วงอายุวัยหลังเกษียณ รายได้ลดลง แต่รายจ่ายยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด เพราะเจ็บป่วยยามชรา (เครื่องเริ่มชำรุดก่อนตาย)
26. สูตรจำนวนเงินออมที่เหมาะสม
เงินออม > (1/10) (อายุ) (เงินรายได้ทั้งปี)
27. ยิ่งอายุมากจะต้องเก็บเงินมากขึ้น เพราะบ้านก็ผ่อนหมดแล้ว เงินเดือนก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ลูกก็จบเรียนไปหลายคน
28. ลูกมากจะยากจน หญิงก็ได้ ชายก็ดี มีแค่สอง
29. หลักการออม
สูตร 1 รายได้ - รายจ่าย = เงินออม
หลักการคิดก็คือ เงินเหลือจ่ายเท่าไรก็เป็นเงินออมเท่านั้น
สูตร 2 รายได้ - เงินออม = รายจ่าย
หลักการคิด พอเงินเดือนมาก็เก็บเงินส่วนหนึ่งเลยแล้วบริหารค่าใช้จ่ายตามส่วนที่จัดไว้ มีมากก็ใช้มาก มีน้อยก็ใช้น้อย
30. หลักการบริหารเงินรวม 6 ขั้นตอน
1) ออม 6 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำ
2) จ่ายหนี้แพงสุดก่อน
3) ประกันชีวิต
4) ออมทรัพย์กับกองทุนเลี้ยงชีพ
5) ประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุ
6) เงินเหลือไปลงทุน
31. หัดทำอาชีพเสริม ขายของบ้าง กำไรน้อยก็ยังดี เพราะไม่มีเวลาไปใช้เงินและไม่ฟุ้งซ่าน
32. หลีกเลี่ยง และเลิกอบายมุข มูลเหตุแห่งความล่มสลายทางด้านการเงิน
33. ทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นก็ขายไปบ้าง เอามาใช้เป็นเงินหมุนเวียนเหมือนพัสดุคงคลังที่ไม่เคลื่อนไหวต้องขายทิ้ง
34. กรณีจำเป็นต้องกู้เงินต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
35. หลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบ เพราะดอกเบี้ยแพงแล้วยังทำสัญญาเกินเงินกู้จริงมาก ๆ อีกด้วย
36. จำไว้เสมอว่า หากเราบริหารไม่ดี คนจนก็จะยิ่งจนลง เป็นหนี้ก็ทำให้ไม่สบายใจ
37. หัดออกกำลังกายไว้ด้วย หากสุขภาพไม่ดีก็จะทำให้เจ็บป่วยและต้องใช้เงินอีก
38. อย่าเล่นการพนัน ไฟไหม้บ้านยังเหลือพื้นดิน เล่นพนันเสียเงินหมดทั้งบ้านทั้งที่ดิน
39. กินเที่ยวเกินความจำเป็น ไม่ดี
40. อย่าหารายได้เสริมด้วยวิธีค้ายาเสพติด หรือโจรกรรม
41. จงประมาณตน อย่าประพฤติตน เช่น?
- เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
- รายได้น้อยรสนิยมสูง
42. มีเมียมากก็พาจน (บางคนบอกว่ามีเมียรวย ๆ ก็ดี)
43. การลงทุน เห็นคนอื่นทำแล้วรวยเราทำตามปรากฏว่า เจ๊ง เช่น ทำร้านอาหารแบบเพื่อชีวิต คนไม่เข้าร้านเหมือนเขาเลย
44. อยากเป็นหนี้ ให้เป็นนายหน้า อยากเป็นขี้ข้า ให้เป็นนายประกัน
45. หาคู่ครองต้องพิจารณาให้ดี
- มีเมียดี เก็บเงินเก่ง ก็รวย
- มีเมียถลุงเงินเก่ง ก็จน
- ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย มีเมียผิดคิดจนตัวตาย
46. จงพอประมาณ
- ซื้อรถตามฐานะ
- แต่งเมียพอเป็นหลักฐาน
- จัดงานศพไม่ฟุ่มเฟือย
- บวชลูก อย่าจัดงานใหญ่
47. ระวังติดนักร้อง จะพาครอบครัวพังทะลาย และพายากจน
48. สุขภาพไม่ดี ก็เสียเงินมาก (ให้โรงพยาบาล)
- กินเหล้าจนไตวายตับแข็ง
- หาโรคมาใส่ตัว
49. จงพึ่งพาตนเองเป็นหลัก คนที่คิดหวังพึ่งคนอื่น จะรวยยาก
50. ทรัพย์ย่อมได้มาด้วยความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ และรู้จักประมาณ
51. ทรัพย์ที่กล่าวมานี้เป็นอามิสทรัพย์ ทรัพย์ทางโลก ทางวัตถุ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพ แล้วทำให้ปลื้มใจ ทรัพย์ที่แท้จริงเป็นอริยทรัพย์ ประกอบด้วย ศรัทธา (เชื่อ) หิริ (อายบาป) โอตตัปปะ (กลัวบาป) พาหุสัจจะ (ฟังมาก) จาคะ (เสียสละ) ศีล (วินัย) และปัญญา (ความรู้)
ที่มา: พุทธวิธีบริหาร (Buddhist Style in Management)
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์

http://www.budmgt.com/topics/top01/poormgt.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น